ยินดีเข้าสู่ Blogger ของ น.ส อรอุมาทองสลับ ในหมวด รายวิชา

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความหมายและความสำคัญเทคโนโลยีสารสนเทศ





ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาระสำคัญ

เทคโนโลยีสารสนเทศมีลักษณะสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยด้านการบริหาร ช่วยดำเนินการในหน่วยงาน และช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบันทึกและจัดเก็บข้อมูล ประมวลผล แสดงผล    การสื่อสารและเครือข่าย




ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เมื่อเทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น

image
ภาพที่ 1 : พัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
image
ภาพที่ 2 : พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา
image
ภาพที่ 3 : การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม

ลองจินตนาการดูว่า นักเรียนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านใดบ้างจากตัวอย่างต่อไปนี้ เมื่อตื่นนอนนักเรียนอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ ซึ่งกระจายเสียงข่าวสารหรือเพลงไปทั่ว นักเรียนใช้โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน ดูรายการทีวี วีดีโอเมื่อมาโรงเรียนเดินทางผ่านถนนที่มีระบบไฟสัญญาณที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ถ้าไปศูนย์การค้า ขึ้นลิฟต์ ขึ้นบันไดเลื่อนซึ่งควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ที่บ้านนักเรียน นักเรียนอาจอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ คุณแม่ทำอาหารด้วยเตาอบซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า จะเห็นว่าชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอันมาก อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบในการทำงาน
image
ภาพที่ 4 : เครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน
ในอดีตยุคที่มนุษย์ยังเร่ร่อน มีอาชีพเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ต่อมามีการรวมตัวกันสร้างเมือง และสังคมเมืองทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต การผลิตทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตจำนวนมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง ทำให้ข่าวสารแพร่กระจ่ายไปอย่างรวดเร็ว

สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดนเพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ออกไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ กล่าวคือ

           สังคมสารสนเทศเป็นลักษณะของสังคมที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเรื่องราวปลายศตวรรษที่ 20 มานี้เองหากมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์สังคม เราจะพบว่าสังคมสารสนเทศเป็นสังคมที่พัฒนาต่อจากสังคมเกษตรและอุตสาหกรรมโดยมีที่มาจากการปฏิบัติเทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication revolution) จากเดิมที่มีเพียงโทรทัศน์วิทยุ ภาพยนตร์ และสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลัก มาเป็นสื่อใหม่ (new media) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และสื่อที่อาศัยเทคโนโลยีโทรคมนาคม เช่น ดาวเทียม สายเคเบิลใยแก้ว โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ลักษณะของสังคมสารสนเทศ พอจะประมวลได้ดังนี้
1) สังคมสารสนเทศเป็นสังคมที่มีการผลิตหลักเป็นข้อมูลข่าวสาร (information) แทนที่จะเป็นการผลิตสินค้าจากโรงงานเหมือนในสังคมอุตสาหกรรม
2) ข้อมูลข่าวสารถือว่าเป็นทรัพยากร (resource) ที่มีค่ายิ่ง เช่น ใครรู้ว่ารัฐบาลจะลอยตัวค่าเงินบาทก่อนก็ได้เปรียบ
3) เกิดการผลิตและการไหลของข้อมูลข่าวสารนานาชนิดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
4)เป็นสังคมที่ต้องพึ่งพึงเครือข่ายการสื่อสารและข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน
5) เป็นสังคมที่มีการทุ่มทรัพยากรให้กับข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมการสื่อสาร
6) สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ จะค่อย ๆ บูรณาการเข้ากับสื่อใหม่ทางอินเตอร์เน็ท
7) วิธีการ (mean) ผลิตข้อมูลข่าวสารจะมีความสำคัญกว่าเนื้อหา (content) ที่ถูกผลิต
ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากสังคมสารสนเทศ
เทคโนโลยีการสื่อสารซึ่งเป็นกลไก/โครงสร้างหลักของสังคมสารสนเทศเปรียบเหมือนดาบสองคมที่ทำให้เกิดผลที่กำลังเกิดและอาจเกิดตามมาทั้งดีและเสียที่พึงระวัง
ผลดี
1. การบูรณาการสื่อต่าง ๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย (Inter-connectedness) และการไหลของข้อมูลข่าวสารทุกทิศทุกทาง ขจัดอุปสรรคเรื่องเวลาและระยะทาง (time and space) ที่เคยเป็นในอดีต เช่น ความสะดวกรวดเร็วของการส่ง e-mail การชมการถ่ายสดทางโทรทัศน์ผ่านสัญญาณดาวเทียมหรือทางเว็บไซต์พร้อม ๆ ไปกับการแสดงความคิดเห็นต่อรายการผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ทันที
2. เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เกิดความรวดเร็ว (speed) ในการส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ปริมาณ (volume) ข้อมูลข่าวสารที่ไม่จำกัดการปฏิสัมพันธ์ (interactivity) การเชื่อมโยง (interconnectivity) ของกลุ่มคน และการขยาย (extensibility) กลุ่มคนและข้อมูล เช่น การเกิดชุมชนเสมือน (virtual community) ในอินเทอร์เน็ต
3. ทำให้เกิดเสรีภาพในการแสดงความเห็น และแนวคิดอันหลากหลาย ซึ่งเป็นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย (Democratic pluralism) ปลอดพ้นจากการควบคุมของอำนาจปกครองทางการเมือง (bureaucratic control) เกิดการกระจายอำนาจ (decentralization) เพิ่มโอกาสให้สาธารณชนและชุมชนได้มีอำนาจในการบริหารจัดการและควบคุมชะตาชีวิตของตนเอง โดยตนเอง และเพื่อตนเองมากขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมเชิงบวก เช่น หากไม่ชอบใจการบริหารงานของรัฐบาลก็สามารถแสดงความคิดเห็นและถกเถียงอภิปรายผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้
ผลเสีย
1. เทคโนโลยีจะเป็นช่องทางให้บรรษัทข้ามชาติ (Large multinational corporations) ขยายตลาดและฐานอำนาจใหญ่ขึ้น
2. ผู้ที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี เช่น ไม่มีคอมพิวเตอร์ จะกลายเป็นกลุ่มชนชั้นล่างผู้ด้อยโอกาสทางข้อมูลข่าวสารกลุ่มใหม่ (new information under class) นำไปสู่ช่องว่างระหว่างชนชั้น เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
3. ความสัมพันธ์ระหว่างคนจะค่อย ๆ ถูกทำลายลง เพราะลักษณะการใช้สื่อที่เป็นการใช้คนเดียว และใช้ครั้งละนาน ๆ นำไปสู่ความเป็นปัจเจกมากขึ้น
image
ภาพที่ 4 : ยุคสังคมสารสนเทศ

ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 

โลกาภิวัตน์ (Globalization)

          คำว่า “Globalization” อาจแทนด้วยคำว่า “Internationalization” ซึ่งเข้าใจได้ง่ายกว่า เช่นเดียวกับการเกิดของสังคมสารสนเทศ โลกาภิวัตน์ก็เกิดจากเทคโนโลยีการสื่อสารเช่นกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดังกล่าวได้ทำลายข้อจำกัดเรื่องพรมแดนในการสื่อสารไปในขณะที่สังคมสารสนเทศกำลังเติบโต โลกาภิวัตน์จึงเป็นเสมือนแฝดผู้น้องของสังคมสารสนเทศแฝดคู่นี้มีสิ่งที่เหมือนกันมากคือเป็นตัวการที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมทั้งเชิงบวกและลบ อย่างไรก็ตามแฝดผู้น้องมีลักษณะพิเศษบางประการที่ทำให้สามารถแยกแยะความแตกต่างจากแฝดผู้พี่ได้
ลักษณะของโลกาภิวัตน์
สำหรับวงวิชาการแล้ว โลกาภิวัตน์จะถูกมอง 2 นัย คือ นัยด้านธุรกิจ/ธุรกรรมไร้พรมแดน และนัยด้านวัฒนธรรม
1. สำหรับนัยด้านธุรกิจ/ธุรกรรมไร้พรมแดน
โลกาภิวัตน์จะสะท้อนลักษณะเครือข่ายความเป็นเจ้าของ (network of interconnected ownership) และเครือข่ายการบริหารจัดการของธุรกิจการสื่อสารข้ามชาติ อันเป็นผลมาจากโครงสร้างการสื่อสารพื้นฐานครอบโลก (global communication infrastructure) เช่น อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น ดาวเทียม และการแพร่กระจายของสื่อมวลชนตะวันตกไปยังนานาประเทศทั่วโลก (Tran nationalization of mass media) เช่น ภาพยนตร์ฮอลีวู้ด ข่าว CNN มิวสิควิดีโอ เพลงสากล และเว็บไซต์นานาชนิด การเกิดขึ้นของธุรกิจข้ามชาติ (global business) เป็นทั้งผลและเหตุที่นำไปสู่การเกิดตลาดโลก (global market) ที่จะรองรับผลผลิตภัณฑ์ในรูปสื่อ (media products) เป็นต้น
2. ส่วนนัยทางด้านวัฒนธรรม
เป็นผลมาจากนัยด้านธุรกิจอีกทอดหนึ่ง กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นภาพและเสียงที่ถูกจัดจำหน่ายถ่ายทอดอย่างกว้างขวางเหล่านั้นมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่ถูกประกอบสร้าง (Construct) ภายใต้วัฒนธรรมหนึ่ง ๆ เช่น เพลงฮิบฮอบของคนอเมริกัน ข่าวใส่สีตีไข่ (sensational) เข้าข้างเฉพาะคนอเมริกันของ CNN เป็นต้น แม้กระทั่งการผลิตสื่อก็จะถูกลอกเลียนแบบและคัดลอกได้ง่าย
ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์
เช่นเดียวกับสังคมสารสนเทศ โลกาภิวัตน์ก็ส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งในเชิงบวกและลบ
ผลดี
1. ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์นี้ สื่อมวลชนสามารถแสดงบทบาทเป็นผู้กระตุ้นและขับเคลื่อนกระบวนการประชาธิปไตยและวิถีอันทันสมัย (Modern ways) เช่น การเกิดตลาดเสรีทางการค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. การสื่อสารไร้พรมแดนก่อให้เกิดการขยายพื้นที่ทางความคิดและการแสดงออก กำจัดเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่ คนมีเสรีภาพและโอกาสมากขึ้น เช่น มีสื่อให้เลือกเปิดรับโดยเสรีหลากหลายมากขึ้น และสามารถเปิดรับได้ไม่ว่าจะในเวลาใดก็ตาม
3. เกิดการขยายอำนาจทางความหมาย (Semiotic power) ที่ใคร ๆ ก็สามารถสร้างความหมายใหม่ให้กับตนเองหรือกลุ่มของตนเองได้ ไม่ต้องถูกครอบงำจากความหมายกระแสหลักเหมือนในอดีต เช่น ไม่ต้องดูแต่ข่าว CNN อย่างเดียวจนกลายเป็นศัตรูกับบิน ลาเดน ไปด้วย แต่มีสำนักข่าวอัลจาซีรา (Al Jazeera) มาร่วมเสนอแง่มุมอีด้านหนึ่ง ทำให้กระบวนการสร้างความหมายเรื่องผู้ก่อการร้ายมีที่มาจากหลายฝ่าย
4. ทำให้เกิดความงอกงามทางวัฒนธรรม (Cultural enrichment) ลดการหลงเชื้อชาติและชาตินิยม (Ethnocentricism and nationalism) ลดความเกลียดกลัวคนต่างด้าว (xenophobia) ลดการแยกแย้งจนนำไปสู่การหลอมรวมทางวัฒนธรรม (global homogenization)
5. นำไปสู่การจัดระเบียบโลกใหม่ (new world order) ก่อให้เกิดความเข้าใจและสันติภาพระหว่งประเทศในที่สุด
ผลเสีย
1. อาจจะเกิดการรุกรานและการกดขี่ทางวัฒนธรรม (Cultural invasion and coercion) ของจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมอเมริกัน (US imperialism) และประเทศตะวันตก ซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจทางการผลิตและการค้าสินค้าทางวัฒนธรรม รวมทั้งครอบงำระบบตลาดโลกอยู่ในปัจจุบัน เช่น หนังไทยเกือบสิ้นชื่อเพราะหนังฮอลีวูดเข้ามาตีตลาด
2. ลดคุณค่าความเป็นวัฒนธรรมเฉพาะดั้งเดิมของกลุ่มชน ทำให้เกิดการถอยร่นและเสื่อมสลายของวัฒนธรรมต้นแบบที่เกิดและค่อย ๆ เติบโตพัฒนามาพร้อม ๆ กับกลุ่มชน เช่น คนไทยเฉลิมฉลองวันวาเลนไทน์มากกว่าวันครู
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบอันเกิดจากโลกาภิวัตน์ไม่ว่าจะด้านบวกหรือลบจะมีมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ศักยภาพในการผลิตสื่อเพื่อใช้บริโภคเองของคนภายในวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ ตลอดจนความสามารถในการผสมผสานและผนวกความแตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นต้น

ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพันมีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้นหน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลงและเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่ายการดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็วโดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
image
ภาพที่ 5 : การสื่อสารโทรคมนาคม
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง ซึ่งแต่เดิมการใช้เทคโนโลยีเป็นแบบบังคับ เช่น การดูโทรทัศน์ วิทยุ เมื่อเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ จะไม่สามารถเลือกตามความต้องการได้ ถ้าสถานีส่งสัญญาณใดมาก็จะต้องชม หากไม่พอใจก็ทำได้เพียงเลือกสถานีใหม่ แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า On demand เช่น หรือ การศึกษาเรียนรู้แบบ Education on demand
image
ภาพที่ 5 : การใช้อินเตอร์เน็ต
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา เมื่อการสื่อสารแบบสองทางก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้น การโต้ตอบผ่านเครือข่ายทำให้เสมือนมีปฏิสัมพันธ์ได้จริง เรามีระบบ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ระบบประชุมบนเครือข่าย มีระบบ Tele-education มีระบบการค้าบนเครือข่าย ลักษณะของการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ทำให้ขยายขอบเขตการทำงาน หรือดำเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแห่ง และดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เราจะเห็นจากตัวอย่างที่มีมานานแล้ว เช่น ระบบเอทีเอ็ม ทำให้การเบิกจ่ายได้เกือบตลอดเวลา และกระจายไปใกล้ตัวผู้รับบริการมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การบริการจะกระจายมากยิ่งขึ้นจนถึงที่บ้าน ในอนาคตสังคมการทำงานจะกระจายจนงานบางงานอาจนั่งทำที่บ้านหรือที่ใดก็ได้ และเวลาใดก็ได้
image
image
ภาพที่ 6 : การใช้บริการ ATM และการเรียนการสอนออนไลน์
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น แต่เดิมการตัดสินปัญหาอาจมีหนทางให้เลือกได้น้อย เช่น มีคำตอบเดียว ใช่ และ ไม่ใช่ แต่ด้วยข้อมูลข่าวสารที่สนับสนุนการตัดสินใจ ทำให้วิถีความคิดในการตัดสินปัญหาเปลี่ยนไป ผู้ตัดสินใจมีทางเลือกได้มากขึ้น มีความละเอียดอ่อนในการตัดสินปัญหาได้ดีขึ้น
            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ
1.1.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
         เทคโนโลยี (Technology) 
           คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ
             สารสนเทศ (Information)
             คำว่าสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
           ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ การเรียกใช้ การประมวลผล และการคิดคำนวณ ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก เครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) การจองตั๋วดูภาพยนตร์ การลงทะเบียนเรียนในโรงเรียน
           เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล

เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก นักเรียนจะได้พบกับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก ดังนี้

1) การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ในการสอบแข่งขันที่มีผู้สอบจำนวนมาก ก็มีการใช้ดินสอระบายตามช่องที่เลือกตอบ เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code) พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกัน การใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูล จะเห็นได้ว่าการเก็บรวบรวมข้อมูล จากคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บได้หลายแบบ
image
ภาพที่ 7 : เครื่องอ่านรหัสแท่ง หรือ บาร์โค้ด

2) การประมวลผล ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี หรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ หรือจัดการคัดแยกข้อมุลที่จัดเก็บนั้น

image
ภาพที่ 8 : ซอฟต์แวร์สำหรับคำนวณทางสถิติ

3) การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น

image
ภาพที่ 9 : เครื่องพิมพ์เอกสารบาร์โค้ด

4) การทำสำเนา เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การทำสำเนาจะทำได้ง่าย และทำได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นอุปกรณ์ช่วยในการทำสำเนา จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เรามีเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จานบันทึก ซีดีรอม ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก
image





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น